อาการสายตาสั้นในตอนกลางคืน

อาการสายตาสั้นในตอนกลางคืน
                อาการสายตาสั้นตอนกลางคืน หรือ Night Myopia คืออาการที่ดวงตาจะมองเห็นวัตถุในระยะกลางและระยะไกลได้ไม่ชัดในเวลากลางคืน หรือในสภาวะที่มีแสงน้อย โดยเห็นแสงไฟในระยะไกลเห็นเป็นแสงฟุ้ง  และต้องฝืนเพ่งตามองเป็นพิเศษ เพื่อให้ภาพชัดขึ้น ซึ่งอาการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสภาวะที่มีแสงน้อย เช่น การขับรถในเวลากลางคืน

                อาการสายตาสั้นตอนกลางคืนเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่ออยู่ในสภาวะแสงน้อย ดวงตาจะไม่สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นกลไกการเพ่ง แม้ดวงตาจะมีระบบการขยายรูม่านตาในสภาวะแสงน้อย  แต่การขยายรูม่านตาไม่สามารถกระตุ้นระบบการเพ่งได้ดีเท่าสภาวะที่แสงเพียงพอ เนื่องจากรูม่านตาขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรับแสงในที่มืด แต่จะส่งผลให้ความคมชัดของการมองเห็นลดลง

                ด้วยเหตุนี้ การอยู่ในที่ ๆ มีแสงน้อยทำให้ขาดสิ่งกระตุ้นระบบกลไกการเพ่ง และทำให้ดวงตาไม่สามารถมองได้ชัดเท่าในสภาวะที่มีแสงเพียงพอ หรือสามารถมองชัดได้เพียงระยะใกล้สาเหตุ และกลไกการเกิดความผิดปกติ

                สาเหตุหลัก คือ จากการขาดภาพที่ชัดเจนที่เป็นตัวกระตุ้นกลไกการเพ่ง และจากรูม่านตาที่ขยายตัวขึ้นทำให้เกิด Spherical aberration โดยการขาดภาพที่ชัดเจนจากการมองในสภาวะแสงน้อย ทำให้ระบบการเพ่ง(Accommodation )ไม่ถูกกระตุ้น ดวงตาจึงกลับไปสู่สภาวะ Night myopia คือ ที่ประมาณ + 0.50 Diopoter เป็นกระบวนการเกิด Night myopia  เนื่องจากเมื่ออยู่ในห้องมืด เราจะไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน และจากการที่เห็นได้ไม่ชัด ทำให้เราไม่สามารถเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วหรือวิ่งในที่มืดได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะเห็นสิ่งที่อยู่ไกลตัวออกไปมาก ๆ ดวงตาของเราจึงปรับตัวโดยทำการเพ่งเพื่อปรับการมองให้เห็นสิ่งใกล้ตัวมากขึ้นแต่ไม่ใช่ที่ระยะไกล ทำให้เกิด Night myopia จะเห็นว่าในอดีต Night myopia ไม่ใช่ปัญหาแต่กลับเป็นปัญหาในปัจจุบัน เนื่องจากเรามีกิจกรรมที่ต้องใช้ความเร็วในที่มืด เช่น การขับรถในเวลากลางคืน เป็นต้น การที่รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรับแสงในที่มืด ส่งผลให้ความคมชัดของการเห็นลดลง เนื่องจากเกิด Spherical aberration โดยแสงที่จุดกึ่งกลางของตาดำจะหักเหไปโฟกัสพอดีบนจอตา แต่แสงที่บริเวณริม ๆ ขอบ ๆ ของรูม่านตาจะหักเหไปโฟกัสก่อนถึงจอตา ( การที่แสงโฟกัสก่อนถึงจอตา คือ ภาวะสายตาสั้น ) การที่แสงที่ผ่านขอบรูม่านตา และกลางรูม่านตาโฟกัสคนละจุด ไม่ได้ไปโฟกัสที่จุดเดียวกัน ทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัด คือ การเกิด Spherical aberration นั่นเอง

                การเกิด  Night myopia สามารถเกิดกับทุกคนได้ แต่ธรรมชาติได้แก้ไขปัญหานี้ให้กับมนุษย์โดยการออกแบบให้ความโค้งของกระจกตามนุษย์มีความโค้งที่ไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณเพื่อชดเชยการหักเหของแสง คือ กระจกตามีความโค้งมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลาง และโค้งน้อยลงบริเวณที่ห่างจากจุดศูนย์กลางออกไปจนถึงขอบกระจกตา  แต่มนุษย์แต่ละคนก็มีสรีระที่ไม่เหมือนกัน คนที่เกิดปัญหานี้เกิดจากการชดเชยดังกล่าวไม่สมบูรณ์ แก้ไขได้ไม่หมด จึงทำให้มีปัญหา แต่สภาวะ Night myopia เกิดขึ้นเฉพาะตอนที่แสงน้อยหรือในตอนมืดเท่านั้น โดยตอนกลางวัน หรือในขณะที่มีแสงเพียงพอจะไม่เกิด และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถในเวลากลางคืน เช่น ต้อกระจก การมี Contrast Sensitivity ลดลงในผู้สูงอายุ ฯลฯ

อาการ

– จะมองเห็นไม่ชัดเจนในขณะที่แสงน้อยถึงระดับหนึ่งหรือในตอนกลางคืนเท่านั้น เช่น จะไม่กล้าขับรถในตอนกลางคืน รู้สึกไม่มั่นใจ อันเนื่องมาจากการมองเห็นไม่ชัด

การแก้ไข

– การตรวจวัดสายตาอย่างละเอียด และใส่แว่นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะเวลากลางคืน หรือในที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ

 

 

ปรึกษา / นัดคิวตรวจสายตา
🔹 Line id : @Siamglasses
🔹 โทรศัพท์ : 092-1234-957

author avatar
Siamglasses Optical