การตรวจวัดสายตามีประโยชน์อย่างไร?
– ดูการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาซึ่งนำมาสู่การเกิดปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง
– สามารถผลิตเลนส์แว่นสายตาที่ได้ระยะที่พอดีกับค่าสายตา
– ตรวจคัดกรองค่าสายตา สำหรับนำไปตั้งค่าเครื่องยิงเลเซอร์สำหรับทำเลสิก (LASIK)
– สามารถหาความเสี่ยงเกิดโรคหรือความผิดปกติบางชนิดเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
– สามารถตรวจดูอาการผิดปกติเพิ่มเติมของโรคประจำตัวที่อาจส่งผลกระทบไปถึงสายตาด้วย
– ตรวจดูประสิทธิภาพในการขับขี่พาหนะ และเป็นอีกหนึ่งกระบวนการในการทำใบขับขี่รถยนต์
ใครควรตรวจวัดสายตา
จริงๆ แล้วเราทุกคนควรตรวจวัดสายตาโดยไม่มีข้อยกเว้น และยังควรตรวจสม่ำเสมอทุกปี ถึงแม้ว่า ในปีก่อนหน้านั้นจะไม่พบความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับสายตา กลุ่มคนที่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวัดสายตาอย่างขาดไม่ได้ เพราะอาจจำเป็นต่อกระบวนการรักษาหรือดูแลสุขภาพ จะได้แก่
กลุ่มผู้ที่รู้สึกว่าค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไป โดยอาจรู้สึกว่ามองเห็นไม่ชัดในระยะใกล้หรือไกล พยายามเพ่งแล้วแต่ไม่หาย ควรลองมาตรวจวัดสายตาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการมองเห็น
ผู้ที่คนในครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิดทางสายตามีโรคประจำตัวเกี่ยวกับดวงตา เพราะโรคเกี่ยวกับดวงตาหลายโรค รวมถึงภาวะทางสายตาสามารถส่งต่อถึงกันได้ผ่านทางพันธุกรรม
ผู้ที่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตา และอยากจะเช็คระดับการมองเห็นของตนเอง
ผู้ที่ใส่แว่นตา แต่รู้สึกว่า ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไปจนแว่นตาชิ้นเดิมไม่สามารถช่วยเสริมการมองเห็นได้ และต้องการตัดแว่นใหม่
ผู้ที่ต้องการทำเลสิก ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลงค่าสายตาให้กลับมาคมชัด จะต้องรับการตรวจค่าสายตาอย่างละเอียดกับแพทย์ก่อนผ่าตัดทุกราย
วิธีการเตรียมตัวก่อนวัดไปสายตา
- พักผ่อนให้เพียงพอ
คืนก่อนเข้าตรวจวัดสายตา ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง หากพักผ่อนไม่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้สมองทำงานช้าลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสายตา ทำให้ดวงตาอ่อนล้า พร่ามัว และประสิทธิภาพในการมองเห็นแย่ลงได้ จึงส่งผลให้ค่าสายตาที่ได้จากการตรวจวัดสายตานั้นคลาดเคลื่อนได้
- กรณีที่ท่านมีโรคประจำตัว
โรคประจำตัวที่สามารถพบได้มากในผู้สูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน, ไทรอยด์, ความดัน ซึ่งโรคประจำตัวเหล่านี้ส่งผลให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงได้ง่าย โดยเฉพาะโรคเบาหวาน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี น้ำตาลในเลือดที่สูงนั้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดส่วนหนึ่งจะผ่านเข้าไปในเนื้อเลนส์ พร้อมทั้งดูดน้ำเข้าไปด้วย ทำให้เลนส์ตานั้นบวมขึ้น ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มการเป็นสายตาสั้นมากขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อใดที่ค่าน้ำตาลลดลงเป็นปกติ เลนส์ตาก็ยุบลง ทำให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การป้องกันปัญหาค่าสายตาเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต หรือไขมันในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- กรณีที่ท่านใส่คอนแทคเลนส์อยู่
สำหรับคนที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ก่อนวัดสายตา ควรถอดตอนแทคเลนส์ก่อนวัดสายตา 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้กระจกตาได้กลับมาในสภาพที่ปกติ
- ควรเป็นวันที่ร่างกายแข็งแรงดี และไม่มีไข้
หากกำลังป่วยหรือมีไข้ควรรักษาให้หายดีก่อน เพราะยาบางชนิดมีผลกับค่าสายตา ส่งผลต่อการทดสอบการมองเห็นนั้นคลาดเคลื่อน หรืออาจผิดพลาดได้ ดังนั้นนอกจากจะรักษาตัวให้หายแล้ว และควรแจ้งให้ทราบถึงการใช้ยาก่อนการตรวจ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
เพราะอวัยวะทุกส่วนในร่างกายของเราล้วนมีความสัมพันธ์กันหมด คืนก่อนมาวัดสายตา แนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เพราะการนอนน้อยหรือดื่มแอลกอฮอลล์มากจะส่งผลให้ค่าสายตาที่ได้จากการตรวจวัดสายตานั้นคลาดเคลื่อน หรือผิดเพี้ยนได้
- ให้นำแว่นเดิมมาด้วย
หากมีแว่นสายตาที่ใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว ควรนำแว่นมาในวันที่ตรวจวัดสายตาด้วย เพื่อเป็นการเช็คอีกครั้งว่า แว่นสายตาคู่เดิมที่มีอยู่ยังใช้งานได้ดี สอดคล้องกับค่าสายตาปัจจุบันหรือไม่
- ควรพักสายตา
ก่อนตรวจวัดสายตา แนะนำให้พักสายตาจากการทำงาน หรือการเพ่งมองในระยะใกล้ เช่น การอ่านหนังสือ, เล่นเกมส์, เล่นโทรศัพท์ต่อเนื่องเกินกว่า 1 ชั่วโมง เพราะการใช้สายตาระยะใกล้นานๆ นั้น จะส่งผลให้เกิดสภาวะเลนส์ตาค้าง หรือมีอาการตาล้าร่วมด้วย ซึ่งจะมีผลต่อค่าสายตาระยะมองไกล
- เว้นระยะ 3-4 สัปดาห์หลังจากผ่าตัดดวงตาหรือเปลือกตา
ในกรณีผู้ป่วยที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดดวงตาหรือเปลือกตามา ควรเว้นระยะอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์หลังจากผ่าตัดดวงตาหรือเปลือกตา เพื่อให้ค่าสายตากลับสู่ภาวะปกติก่อน เพราะการผ่าตัดอาจส่งผลให้ค่าสายตามีการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว
ปรึกษา / นัดคิวตรวจสายตา
Line id : @Siamglasses
โทรศัพท์ : 092-1234-957