เลนส์ลดตาล้า ดียังไง

เลนส์ลดตาล้า ดียังไง

            โลกยุคดิจิทัลทำให้เราต้องอยู่ติดจอตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นจอโทรศัพท์ จอคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรทัศน์ สายตาจึงถูกใช้งานอย่างหนักอยู่ตลอดเวลาจนเป็นที่มาของอาการที่เรียกว่า “ตาล้า” นั่นเอง

            อาการตาล้า เกิดการใช้สายตาอย่างหนักและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน พบได้บ่อยตั้งแต่ในวัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงาน โดยเฉพาะกับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานทั้งวัน เล่นมือถือนานๆ หรือเพ่งจอดูทีวีดูซีรีส์ผ่านหน้าจอทั้งวันทั้งคืน

สัญญาณของอาการตาล้า

– ปวดเบ้าตา กระบอกตา หรือบริเวณรอบๆ ดวงตา

– รู้สึกดวงตาอ่อนล้า ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด

– ระคายเคืองตา แสบตา คันตา

– ตาแห้ง

– น้ำตาไหลโดยไม่มีสาเหตุ

– ดวงตาไวต่อแสงมากขึ้น

วิธีแก้อาการตาล้า

            วิธีแก้อาการตาล้าแบบง่ายๆ คือ การให้สายตาได้พักผ่อนเพียงพอ เช่น หมั่นพักสายตาโดยมองไปในที่ระยะไกลเพื่อให้กล้ามเนื้อดวงตาได้ผ่อนคลาย เว้นระยะห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้พอดี และปรับหน้าจอให้มีความสว่างเพียงพอ ไม่มืดหรือสว่างเกินไป รวมถึงไม่นั่งทำงานหน้าพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เพราะจะทำให้ดวงตาสัมผัสกับลมโดยตรง และส่งผลให้เกิดภาวะตาแห้งได้

สาเหตุอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดอาการตาล้าได้

– ใช้สายตาในการทำงานหน้าจอมือถือ แท็บเลต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป

            เรียกได้ว่าเป็นสาเหตุหลักของคนส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการตาล้า โดยเฉพาะคนวัยทำงาน ที่นอกจากจะต้องใช้สายตาในการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันแล้ว นอกเวลางานก็ต้องใช้สายตาไปกับมือถือแทบจะตลอดเวลา เมื่อเราต้องจ้องจอนานๆ จึงทำให้เรารู้สึกไม่สบายตาและอาจทำให้เกิดอาการปวดตา ตาล้าและปวดหัวตามมา รวมถึงแสงจ้าจากหน้าจอ ที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตา แสบตา พร้อมทั้งมีอาการระคายเคืองร่วมด้วย

– ขับรถติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

            โดยเฉพาะการขับรถกลางคืน ที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองเป็นพิเศษ

– อ่านหนังสือติดต่อกันนาน

            เมื่อใช้สายตาจ้องตัวหนังสือระยะใกล้เป็นเวลานาน ทำให้ดวงตาทำงานหนัก สายตาเริ่มอ่อนล้า รวมถึงมองเห็นภาพเบลอ ทำให้ต้องขยับหนังสือเข้าใกล้มากขึ้น

            ด้วยพฤติกรรมการใช้สายตาเหล่านี้จึงส่งผลให้เราเริ่มกระพริบตาน้อยลง เริ่มเกิดอาการแสบตา ไม่สบายดวงตา ตาแห้ง เริ่มมีอาการตาเบลอ จนต้องเพ่งโฟกัสมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักและเกร็งตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ทำให้ต้องดึงกำลังของกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตามาช่วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตามมา นอกจากสาเหตุของพฤติกรรมการใช้สายตาที่ทำให้เกิดอาการตาล้าได้แล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดอาการตาล้าได้เช่นกันก็คือ ภาวะความบกพร่องทางสายตา เช่น สายตาเอียง  สายตาสั้น หรือสายตายาว

วิธีการรักษาและบรรเทาอาการตาล้าเบื้องต้น

พักสายตา-กระพริบตาให้บ่อยขึ้นเพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้คลายตัว  สามารถทำได้ด้วยมองไกลหรือเปลี่ยนระยะการมองไปที่วัตถุอื่นประมาณ 20 ฟุต เป็นการลดการโฟกัสของดวงตาในช่วงเวลาที่พักสายตา เพื่อผ่อนคลายดวงตาจากอาการล้า

– ปรับแสงสว่างจากจอให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมพอดี ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป

– ปรับขนาดตัวหนังสือให้สามารถอยู่ในขนาดที่อ่านได้สบายสายตา ไม่ต้องเพ่งจนเกินไป

– แสงสว่างจากรอบบริเวณก็เป็นสิ่งสำคัญมีความเหมาะสม

            นอกจากการปรับพฤติกรรมการใช้สายตาและสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาการตาล้า สำหรับบางคนที่จำเป็นต้องใช้สายตากับหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็สามารถหาตัวช่วยเพื่อป้องกันอาการตาล้าได้ เช่นกัน ด้วยการสวมใส่แว่นตา โดยเลือกเลนส์ที่มีคุณสมบัติสำหรับการใช้สายตาในระยะใกล้ เพื่อช่วยบรรเทาและผ่อนคลายความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อตา ก็นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมากๆในปัจจุบัน เลนส์ลดอาการตาล้าจะช่วยแบ่งเบาภาระของกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการเพ่งมอง และช่วยให้เปลี่ยนระยะโฟกัสนุ่มนวล และรู้สึกสบายตามากยิ่งขึ้น

ปรึกษา / นัดคิวตรวจสายตา
🔹 Line id : @Siamglasses
🔹 โทรศัพท์ : 092-1234-957

author avatar
Siamglasses Optical